ออติวา ปลอดเชื้อราในนาข้าว ปลอดโรคข้าวในนาคุณ
ชื่อสามัญ
- ไดฟีโนโคนาโซล (difenoconazole)
- อะซอกซีสโตรบิน (azoxystrobin)
กลุ่มสารเคมี:
- กลุ่ม 3+11 สารป้องกันกำจัดโรคพืช
ออติวา คุ้มครองและปกป้องคุณภาพผลผลิต ด้วยสูตรน้ำ ออกฤทธิ์กว้างขวางในการป้องกันกำจัดโรคพืชหลายชนิด ทั้งพืชผัก ผลไม้ และนาข้าว ด้วยสารออกฤทธิ์สองชนิด ทำให้ออติวาให้ผลในการป้องกันกำจัดโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อ ปลอดภัยต่อพืชทุกระยะ ดูดซึมได้เร็ว รวมถึงช่วยรักษาคุณภาพของผลผลิตหลังเก็บเกี่ยว
ช่วยปกป้องนาคุณให้มีผลผลิตที่ดี ใช้ ออติวา ฉีดพ่นในนาข้าว ก็ป้องกัน กำจัด2 โรคราร้ายที่ทำให้ผลผลิตเสียหาย
โรคใบจุดสีน้ำตาล ที่ส่งผลต่อใบข้าว ลักษณะเป็นใบจุดสีน้ำตาล และอาจมีผลทำให้เกิดโรคเมล็ดด่างได้ มีผลต่อการสังเคราะห์แสงของและอาจนำไปสู่โรคเมล็ดด่างได้
โรคเมล็ดด่าง นั้นก็ต้องป้องกันและระวังตั้งแต่ช่วงข้าวท้องเพราะจะมีผลโดยตรงกับคุณภาพและขายไม่ได้ราคา อาการของโรคเมล็ดด่างคือ จะพบแผลสีต่าง ๆ เช่น เป็นจุดสีน้ำตาลหรือดำ หรือมีลายสีน้ำตาลดำ หรือสีเทาปนชมพูที่เมล็ดบนรวงข้าว เพราะมีเชื้อราหลายชนิดที่สามารถเข้าทำลาย มักจะเกิดในช่วงดอกข้าวเริ่มโผล่จากกาบหุ้มรวง จนถึงระยะเมล็ดข้าวเริ่มเป็นน้ำนม และอาการเมล็ดด่าง จะเห็นได้เด่นชัดในระยะใกล้เก็บเกี่ยว
ออติวา พืชผักและผลไม้ปลอดโรคง่ายๆ ในขวดเดียว
ออติวา คุ้มครองและเพิ่มคุณภาพผลผลิต ออกฤทธิ์ทั้งดูดซึมและแทรกซึมอย่างรวดเร็ว มีระยะปลอดฝนสั้น พลังแห่งเทคโนโลยีใหม่ เพิ่มกลไกการทำงานที่ระดับเซลล์ของเชื้อรา ให้ประสิทธิภาพป้องกันกำจัดแบบรอบทิศทาง คือ
- ทำลายการสร้างเส้นใยของเชื้อรา
- หยุดการสร้างสปอร์ของเชื้อรา
ออติวา มีความเป็นพิษต่ำ ป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายจากโรคและป้องกันการดื้อยาของเชื้อราสาเหตุโรคพืช
ออติวา ให้ผลในการสร้างเสริมความแข็งแรงของพืช และให้ผลดีในการป้องกันกำจัดเชื้อราโรคพืช เช่น ใบจุดที่เกิดจากเชื้อแอนแทรคโนส ในลำไย โรคช่อดอกดำ โรคแอนแทรคโนสในมะม่วง โรคสแคปในองุ่น ใบไหม้ในทุเรียน (ใบติด) และ แอนแทรคโนสในทุเรียน
ข้าว
- ใช้ป้องกันกำจัด โรคเมล็ดด่าง (dirty panicle) ในข้าว ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Bipolaris oryzae, Curvularia lunata, Cercospora oryzae, Fusarium incarnatum, Sarocladium oryzae และ Trichoconis padwickii อัตรา: 10-15 ซีซี/ น้ำ 20 ลิตร (อัตราการใช้น้ำ 80 ลิตร ต่อไร่ วิธีการ: พ่น 2 ครั้ง ครั้งแรกในระยะข้าวตั้งท้อง และครั้งที่สองในระยะข้าวออกรวง 5 เปอร์เซ็นต์
- ใช้ป้องกันกำจัด โรคใบจุดสีน้ำตาล (brown spot) ในข้าวที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Bipolaris oryzae อัตรา: 10-15 ซีซี/ น้ำ 20 ลิตร (อัตราการใช้น้ำ 80 ลิตร ต่อไร่) วิธีการ: พ่น 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อพบการระบาดของโรค และครั้งที่สองหลังจากพ่นครั้งแรก 10 วัน
- ใช้ป้องกันกำจัด โรคกาบใบแห้ง (sheath blight) ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Rhizoctonia solani (Thanatephorus cucumeris) อัตรา: 10-15 ซีซี/ น้ำ 20 ลิตร (อัตราการใช้น้ำ 80 ลิตร ต่อไร่) วิธีการ: พ่น 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อพบการระบาดของโรค และครั้งที่สองหลังจากพ่นครั้งแรก 10 วัน
- ใช้ป้องกันกำจัดโรคกาบใบเน่า (sheath rot) โรคกาบใบเน่า (sheath rot) ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Sarocladium oryzae อัตรา: 15-20 ซีซี/ น้ำ 20 ลิตร วิธีการ: พ่น 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อพบการระบาดของโรค และครั้งที่สองหลังจากพ่นครั้งแรก 14 วัน
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
- โรคใบไหม้แผลใหญ่ (northern corn leaf blight) ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Exserohilum turcicum อัตรา: 5-10 ซีซี /น้ำ 20 ลิตร วิธีการ: พ่นเมื่อพบการระบาดของโรค และพ่นซ้ำทุก 10 วัน
ทุเรียน
- โรคใบติด (Rhizoctonia leaf fall) ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Rhizoctonia solani อัตรา: 10 ซีซี/ น้ำ 20 ลิตร วิธีการ: พ่นเมื่อพบการระบาดของโรค และพ่นซ้ำทุก 7 วัน
พริก
- โรคแอนแทรคโนส (anthracnose) ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides และ Colletotrichum capsici อัตรา: 10 ซีซี /น้ำ 20 ลิตร วิธีการ: พ่นเมื่อพบการระบาดของโรค พ่นซ้ำทุก 7 วัน
ข้าวโพดหวาน
- โรคใบไหม้แผลใหญ่ (northern corn leaf blight) ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Exserohilum turcicum อัตรา: 5-10 ซีซี /น้ำ 20 ลิตร วิธีการ: พ่นเมื่อพบการระบาดของโรค และพ่นซ้ำทุก 10 วัน
มันฝรั่ง
- ใช้ป้องกันกำจัด โรคใบไหม้ (late blight) ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Phytophthora infestans อัตรา: 25 ซีซี /น้ำ 20 ลิตร วิธีการ: พ่นเมื่อพบการระบาดของโรค และพ่นซ้ำทุก 5 วัน
มะม่วง
- โรคแอนแทรคโนส (anthracnose) ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides อัตรา: 10 ซีซี/ น้ำ 20 ลิตร วิธีการ: พ่นครั้งแรกเมื่อมะม่วงติดผลอ่อนขนาด 0.5เซนติเมตร พ่นซ้ำทุก 7 วัน จนถึงระยะห่อผล
องุ่น
- โรคสแคป (scab) ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Sphaceloma ampelinum อัตรา: 10 15 ซีซี/ น้ำ 20 ลิตร วิธีการ: พ่นเมื่อพบการระบาดของโรค และพ่นซ้ำ ทุก 4 วัน
ลำไย
- โรคใบจุดดำ (blackspot) ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides อัตรา: 5 ซีซี/ น้ำ 20 ลิตร วิธีการ: พ่นเมื่อพบการระบาดของโรค
หอมหัวใหญ่
- โรคใบจุดสีม่วง (purple blotch) ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Alternaria porri อัตรา: 5 ซีซี/ น้ำ 20 ลิตร วิธีการ: พ่นเมื่อพบการระบาดของโรค และพ่นซ้ำทุก 7 วัน